ประวัติโรงเรียน

พ.ศ.2434 พระนครศรีบริรักษ์บรมราชภักดีศรีศุภสุนทร(ท้าวอู๋) ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านดอนบมไปอยู่บ้านทุ่ม ด้วยเห็นผลทางการเมืองเป็นการป้องกันความแตกแยกสามัคคีของกรมการเมืองขอนแก่น
พ.ศ.2435 ทางราชการตั้งกรมธรรมการขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการ เพื่อดูแลด้านการศึกษาของชาติให้เป็นไปในแนวเดียวกัน
เพื่อพัฒนาบุค
ลากรให้มีความรู้มากขึ้น และเพื่อขยายการเรียนหนังสือเมืองไทยให้แพร่หลาย ออกไปทั่วทุกภาคแต่ก็มืได้ห้ามการเรียนภาษาท้องถิ่น
เช่นภาษาขอมภาษาไทย ใหญ่หรืออักษรตัวธรรมภาษาไทยน้อย(อีสาน)ทางราชการได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียน มูลการศึกษาขึ้นทั่วไปทั้งในกรุงและหัวเมือง
กำหนดชั้นเรียนเป็น2ชั้นคือมูลศึกษาชั้นต่ำ และมูลศึกษาชั้นสูง เพื่อส่งเสริมให้หัวเมืองต่างๆจัดตั้งโรงเรียนขึ้น ทางราชการได้คัดเลือกบุคคล
ที่มีความรู้ความสามารถ ส่งออกไปตามหัวเมืองต่างๆ เรียกว่าข้าหลวงกำกับราชการหรือข้าหลวงประจำเมือง (ไม่ใช่เจ้าหรอผู้ว่าราชการเมือง)
พ.ศ.2440 ทางราชการได้ส่งนายกิจจการี(จีน ปิยรัตน์) 13 ปี ต่อมาได้เป็นผู้ว่าราชการเมือง เมืองขอนแก่นที่พระวิไสยสิทธิกรรม 
พ.ศ.2453-2456 มาเป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองขอนแก่น นายกิจจการี ได้ช่วยพระนครศรีบริรักษ์ฯ(ยศในขณะนั้น) อุปฮาต (ท้าวหนูหล้า สุทรพิทักษ์) จัดตั้งโรงเรียนตัวอย่างประจำเมืองขอนแก่นชื่อว่า โรเรียนขอนแก่น(ชาย) มีนายทับ ฉิมมา เป็นครูใหญ่ เปิดสอนวิชา คัดไทย อ่านไทย เขียนไทย
หยุดทุกวันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ในการเปิดสอนครั้งแรก นักเรียนจะเป็นลูกหลานข้าราชกรมการเมืองขอนแก่น ประชาชนทั่วไปไม่นิยมเรียนเพราะเห็นความสำคัญของการเรียนการสอนภาษาไทย ปกติจะมีการเรียนการสอนภาษาไทย น้อยตามสำนักวัดต่างๆ ถ้าบวชเป็นภิกษุสามเณรจะต้องเรียนอักษรตัวธรรมและตัวขอมด้วย ในสมัยนั้นผู้หญิงไม่นิยมเรียนหนังสือ จะเรียนวิชาชีพ การบ้านการเรือน
จากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายของตน
พ.ศ.2441 ทางราชการได้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่1โรงเรียนขอนแก่น(ชาย)ได้ปรับปรุงเนื้อหาวิชาใหม่ตามที่ทางราชการ
กำหนดคือ คัดไทย อ่านไทย เขียนไทย จรรยาและวิชาเลขคณิต การเรียนแบ่งออกเป็น3ชั้นคือ
  1. พวก ก ข
  2. พวกแจก ผัน สะกด
  3. พวกอ่านออกเขียนได้
พ.ศ.2442 เมืองย้ายจากบ้านทุ่มมาอยู่บ้านเมืองเก่า
พ.ศ.2443 โรงเรียนขอนแก่น(ชาย) ย้ายมาเรียนที่วัดธาตุพร้อมกับเจ้าเมืองได้ปรับยศสูงขึ้นเป็น พระยานครศรีบริรักษ์บรมราชภัคดีศรีศุภสุนทร
พ.ศ.2445 ทางราชการประกาศใช้แผนการศึกษาฉบับที่2 การศึกษาแบ่งเป็น2ระดับ คือสามัญศึกษาและวิสามัญศึกษา สายสามัญแบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ ประถมศึกษามัธยมศึกษาและอุดมศึกษา โรงเรียนขอนแก่น(ชาย)เปิดสอน2ระดับคือ
1.ประถมปีที่ 1-3
2.มัธยมศึกษาปีที่ 1-3
พ.ศ.2449 สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาตรวจมณฑลอุดรอีสาน 25 ธันวาคม พ.ศ.2449 ท่านได้บันทึกไว้ เวลาบ่าย 4 โมง
ไปดูที่ต่างๆ จนถึงตลาดและวัดธาตุ มีโรงเรียนซึ่งข้าหลวงบริเวณจัดตั้งขึ้นมีพระสอนมีจำนวนนักเรียน 109 คน แต่สวมเสื้อและหมวก
เหมือนกันหัดเข้าแถว คำนับอย่างเรียนร้อยแล้วกลับที่พักโรงแรม
พ.ศ.2450 นายทับ ฉิมมา ครูใหญ่ลาออก พระครูพิศาลอรัญเขตต์เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นดำรงตำแหน่งแทน ทางการได้ปรับเปลี่ยนแผนการศึกษาใหม่ โดยแยกสายสามัญและสายวิสามัญ(อาชีวศึกษา)ออกจากกันโดยเด็ดขาด โรงเรียนขอนแก่น(ชาย)มีตำราเรียนคือ
1.แบบเรียนเร็วเล่ม1,2,3
2.หนังสือภาษาไทย6เล่ม คือ มูลบทบรรพกิจ, วาหนิตนิกร, อักษรประโยค, สังโยคพิธาน, ไวพจน์พิจารณ์,พิศาลการัตน์
พ.ศ.2453 พระครูพิศาลอรัญเขตต์ ลาออกจากครูใหญ่เนื่องจากภารกิจทางสงฆ์มีมากพร้อมทั้งออกตรวจวัดต่างๆ เพื่อเตรียมจัดตั้งโรงเรียนประชาบาล แต่ท่านก็ยังเป็นครูน้อยช่วยสอนเช่นเดิม
พ.ศ.2454 ราชบุรุษนารถ อินทุสมิต ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ได้สร้างอาคารเรียนใหม่ขึ้น 1 หลัง พระครูพิศาลอรัญเขตต์ได้บริจาคเงิน 60 บาท
จัดซื้อมอบให้แก่โรงเรียน เป็นโต๊ะขนาดกว้างศอกคืบ จำนวน 25 ตัว ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนขอนแก่น(ชาย)เป็นโรงเรียนวัดธาตุวิทยาคาร
พ.ศ.2456 ทางราชการได้ประกาศใช้แผนการศึกษาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมภ์ที่ต้องการให้นักเรียนที่จบแล้วมีความรู้ ในการประกอบอาชีพโดยขยายหลักสูตรประถมศึกษาเป็น 5 ปี 3ปีแรกเรียนวิชาสามัญเช่นเดิม 2 ปีหลังเรียนวิชาชีพ มัธยมศึกษา 8 ปี แบ่งเป็น มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี(ม.1-ม.3)มัธยมศึกษาตอนกลาง3ปี(ม.4-ม.6) และมัธยมศึกษา ปลาย 2 ปี(7-8) แต่โรงเรียนวัดธาตุวิทยาคารขาดครูผู้สอน จึงเปิดได้เพียงมัธยมศึกษาตอนต้น
พ.ศ.2458 ราชบุรุษนารถครูใหญ่ ย้ายไปรับราชการ จังหวัดหนองคาย นายผล ผลโตษะ มาดำรงตำแหน่งครู่ใหญ่แทน พระยาศาลสารเกษตร
(พร พิมพะสูต) ผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น ได้ย้ายโรงเรียนวัดธาตุวิทยาคารจากวัดธาตุมาอยู่ ณ ที่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ปัจจุบันโดยการสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น 1 หลัง เป็นแบบปั้นหยาชั้นเดียวยกพื้นมีมุขหน้า 2 ด้าน บันไดขึ้นตรงกลางมีระเบียงซ้ายขวา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน"
พ.ศ.2459 นายผล ผลโตษะ ไดเลื่อนตำแหน่งเป็นธรรมการจังหวัดขอนแก่น และควบตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนขอนแก่นวิทยาคาร แต่การบริหารมอบให้นายเฉย อินทุมาน รั้งตำแหน่ง(รักษาการ) ครูใหญ่ เนื่องด้วยธรรมการจังหวัดขอนแก่นออกตรวจตราดรงเรียนประชาบาลบ่อยๆ
พ.ศ.2461 นายอั้น ศิริโชติ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้พัฒนาโรงเรียนในหลายๆด้าน มีการจัดตั้งกองลูกเสืออย่างเป็นระบบ พร้อมกับมีการเข้าค่ายพักแรมทุกภาคเรียน มีการฝึกซ้อมรับแบบเสือป่า
พ.ศ.2462 ทางราชการเปลี่ยนกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.2464 ทางราชการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา โรงเรียนขอนแก่นวิทยายนได้มีการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
พ.ศ.2468 นายอั้น ศิริโฃติ ครูใหญ่ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูมูลมณฑลอุดร นายถม ธรรค์เพชร์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน
พ.ศ.2469 นายถม ขรรค์เพชร์ ครูใหญ่ย้ายไปดำรงครูใหญ่จังหวัดหนองคายรองอำมาตย์ตรี เปลื้อง อินทุสมิต มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน ในปีนี้ได้สร้างอาคารอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นด้วยเงินศึกษาพลี(งบประมาณของทางราชการ) 14,500 บาท ตามแบบโรงเรียนประจำจังหวัดแบบที่1 ของกระทรวงธรรมการอาคารเป็นไม้แบบปั้นหยามีมุขหน้า1ข้าง แต่เพิ่มเติมเฉลียงด้านหลังกว้าง3เมตร ยาวตลอดตัวอาคารและกั้นเป็นห้องสมุด และห้องพัสดุขึ้นด้านหลังอาคารทั้ง 2 ด้าน ระหว่างเฉลียงหลังและเฉลียงข้างขนาดขนาดห้องกว้าง3 เมตร(เท่าเฉลียง)ยาว 6.50เมตร อาคารชั้นเดียวเสาคอนกรีตสูงสูงจากดินถึงพื้น 2 เมตร จากพื้นถึง 4 เมตร ด้านหน้ามี 3บันได ด้านหลังมี2บันได เริ่มก่อสร้างวันที่ 22 กันยายน 2468 แล้ว เสร็จมอบแก่กรรมการตรวจรับเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2469 เป็นอาคารที่แปลกพอสมควร เนื่องจากด้วยมีการต่อเติมเฉลียงหลัง และเพิ่มบันไดอีก2แห่งรวมตัวอาคารกว้าง24เมตร ยาว45เมตร และในปีเดียวกันนี้(2469)ได้สร้างอาคารโรงพละขึ้นอีก 1 หลังเป็นเงิน 10,000 บาท(หนึ่งหมื่นบาท) เนื่องด้วยการพระศาสนาได้เข้ามารวมอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการเช่นเดิมป้ายโรงเรียนจึงเป็น "โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน กระทรวงธรรมการ"
เนื่องจากการก่อ สร้างอาคารเรียนใช้เงินงบประมาณของทางราชการเป็นจำนวนมาก ทางจังหวัดขอนแก่นและมณฑลอุดร จึงส่งเรื่องขอพระราชทานนามของโรงเรียนเพื่อเป็นสิริมงคลแก่โรงเรียนพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชมานนามลงมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2470 ว่า "ขอนแก่นวิทยายน"
พ.ศ.2472 รองอำมาตย์ตรีเปลื้อง อินทุสมิต ถูกสั่งพักราชการ ทางราชการจึงแต่งตั้งขุนสุนทรการันต์ศึกษาธิการ มาดำรงตำแหน่งแทน อยู่ได้ปีเศษก็ถูกสั่งพักราชการ
พ.ศ.2473 นายสิทธิ์ บัณฑิตวงษ์ รั้งตำแหน่งครูใหญ่ นายสิทธิ์ บัณฑิตวงษ์เข้ารับราชการเมื่อ 9 กรกฎาคม 2472 วุฒิ ป.ป.เงินเดือน30บาท
พ.ศ.2474 ทางราชการตั้งนายสิงห์วาณิชยานนท์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ได้มีการพัฒนากิจการต่างๆขึ้นอย่างมากมาย เช่น กิจการลูกเสือ พลศึกษาและการแสดงต่างๆของนักเรียนและที่สำคัญคือได้รับอนุมัติให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนกลางที่1(ม.4)
พ.ศ. 2475 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ขอเก็บค่าเล่าเรียน ป.1-ป.3 ได้รับอนุมัติจากเสนาบดีกระทรวงธรรมการ คือ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2475 ดังนี้
ป.1-ป.2 ปีล่ะ2บาท ป.3 ปีล่ะ4บาท ทั้งนี้ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2475 เป็นตั้นไป
สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนกลางเก็บค่าเล่าเรียนดังนี้
ม.1-ม.3 เก็บปีล่ะ10บาท ม.4 เก็บปีละ15บาท ม.5 เก็บปีล่ะ20บาท
การเปิดสอนม.5 ของโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนได้ตามประกาศของแผนกธรรมการลงวันที่ 29 เมษายน 2475 โดยมหาอำมาตย์ตรีพระยาตรังค ภูมิภิบาล สมุหเทศภิบาล มณฑลอุดร
ทางราชการได้ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 แบ่งเป็นประถมศึกษา 4 ปี มัธยมต้น 4 ปี มัธยมปลาย 4 ปี โรงเรียนขอนแก่นวิทยายนยังเปิดในแบบเดิมตลอดปีการศึกษา 2475
ทางฝ่ายปกครองได้มีการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เะป็นประมุข
พ.ศ.2476 มีเหตุการณ์ดังนี้
1. นายสิงห์ วาณิชยานนท์ ครูใหญ่ย้ายไปรับราชการในกระทรวงธรรมการ นายคำบ่อ เดชกุญชร มาดำรงตำแหน่งแทน
2. โรงเรียนขอนแก่นวิทยายนได้รับอนุญาตเปิดสอนชั้นม.6
3. ลูกเสือเกียรติยศได้ไปร่วมพิธีเปิดสถานีรถไฟเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2476
4. จัดการเรียนการสอนตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 คือ
ชั้นเตรียม ให้เป็นประถมปีที่ 1
ชั้นประถมปีที่1 ให้เป็นประถมปีที่ 2
ชั้นประถมปีที่2 ให้เป็นประถมปีที่ 3
ชั้นประถมปีที่3 ให้เป็นประถมปีที่ 4
ม.1-4 ให้เป็นมัธยมศึกษาตอนต้น
ม.5-6 ให้เป็นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 1-2
5. เกิดกบฎวรเดชขึ้นทางโรงเรียนได้เรี่ยไรทรัพย์สิ่งของไปช่วยฝ่ายรัฐ เพื่อแสดงออกถึงการสนับสนุนระบบประชาธิปไตย
6. กรมมหาวิทยาลัย กระทรวงธรรมการ จัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมการและการเมือง
พ.ศ.2478 ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติทุกตำบลและจังหวัดขอนแก่นจัดตั้งเทศบาลเมืองเป็นปีแรก
พ.ศ.2479 ชาวญวนในจังหวัดขอนแก่นก่อความวุ่นวายขึ้นทางราชการปราบปรามจนเรียบร้อย กองลูกเสือขอนแก่นวิทยายนเข้าไปช่วยเป็นยามรักษาการณ์ตามสถานที่สำคัญหลายแห่ง
พ.ศ.2480 ได้สร้างอาคารเรียนเพิ่มเพิ่มอีกหนึ่งหลัง ด้านทิศใต้ของอาคารหลังใหญ่ เป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง เสาคอนกรีตวางคานไม้ ขนาด 3 ห้องเรียน(ในเวลาต่อมาได้ต่อเคชติมชั้นล่างเป็นห้องเรียน 3 ห้อง)
จังหวัดขอนแก่นได้ตั้งหน่วยยุวชนทหารขึ้นนักเรียน ม.4-6 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายนได้สมัครเข้าฝึกจำนวนมาก และได้เป็นกำลังส่วนหนึ่งไนการรักษาความสงบภายในจังหวัดขอนแก่นในเวลาต่อมา
พ.ศ.2484 นายคำบ่อ เดชกุญชร ย้ายไปดำรงตำแหน่งธรรมการจังหวัดยะลา นายสิทธิ์ บัณฑิตวงษ์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน เกิดสงครามอินโดจีน คณะครู ยุวชน ทหารนักเรียนและลูดเสือโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ได้เป็นกำลังส่วนหนึ่งช่วยรักษาความสงบภายในจังหวัดขอนแก่น มรหน้าที่ควบคุมแสงไฟและการจราจรทั้งกลางวันและกลางคืน ปีการศึกษา 2484 ไม่มีการสอบไล่ประจำปีให้ถือว่านักเรียนสอบไล่ได้หมดทุกคน ในช่วงเวลาที่นายสิทธิ์ บัณฑิตวงษ์เป็นครูใหญ่ได้มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เช่นโรงวิทยาศาสตร์ โรงฝึกงานฝีมือ บ้านพักครู บ้านพักภารดรง โรงอาหาร ห้องส้วมครู ห้องส้วมนักเรียน นอกจากนี้การกีฬาก็โดดเด่น
มากได้ถ้วยชนะเลิศแทบทุกอย่าง นายสิทธิ์ บัณฑิตวงษ์ เป็นครูใหญ่อยู่นาน 12 ปี 10 เดือน ก็ย้ายไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล เป็นครูใหญ่ที่นานที่สุดนับตั้งแต่ตั้งโรงเรียนมาคือ 13 ปี 10 เดือน(เป็น 2 สมัย)และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยากจะบันทึกไว้คือในปี พ.ศ.2484 กระทรวงธรรมการเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2496 นายเงิน รัตนจันท ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ได้พัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น หลังจากที่ทางราชการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ
พ.ศ.2497 แล้วโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนก็ปรับระดับเป็น มัธยมต้น 3 ปี คือ ม.1-3 และมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี คือ ม.4-6 ส่วนชั้นเตรียมอุดมศึกษา
2 ปีได้เริ่มเมื่อภาคเรียนที่ 1/2504 ถึง พ.ศ.2502 เราก็มีครบทั้งมัธยมต้น มัธยมปลาย และเตรียมอุดมศึกษา ส่วนระดับประถมศึกษา ได้โอนไปอยู่กับเทศบาลตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 แล้วในสมัย นายเงิน รัตนจันท นี้ได้สร้างโรงอาหารถาวร อาคารเรียนชั่วคราว ส้วม และโรงเก็บรถจักรยาน
พ.ศ.2506 (1 พ.ค. 06) นายเงิน รัตนจันท ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัดหนองคาย นายสุชาติ สุขากันยา มาดำรงตำแหน่งอาจารย?ใหญ่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายนเพียงปีเดียว
พ.ศ. 2507-2512 นายเจือ หมายเจริญ เป็นอาจารย์ใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.ศ. 1-3) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ. 4-5) แทนชั้นเตรียมอุดมศึกษา (ม. 7-8) พ.ศ. 2510 มีการก่อตั้งโรงเรียนโครงการมัธยมแบบประสมขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น รับนักเรียน ม.ศ. 1 ทั้งหญิงและชายโดยอาศัยอาคารเรียนขอนแก่นวิทยายน เป็นสถานที่ชั่วคราว ปีการศึกษา 2511 จึงย้ายออกไปก่อตั้งเป็นโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย
พ.ศ. 2512-2516 มีการขยายจำนวนรับนัดเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมากขึ้น ตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงการใช้อักษรย่อปักอกเสื้อนักเรียนจาก ข.ก. 1 เป็น ข.ก.
พ.ศ. 2516-2522 นายสนิทพงศ์ นวลมณี อาจารย์ใหญ่, ผู้อำนวยการได้มีการสร้างอาคารแบบ 318 จำนวน 18 ห้องเรียน ขึ้น 1 หลัง (อาคาร 3 ปัจจุบัน)พ.ศ. 2516 สร้างหอประชุมแบบ 005
พ.ศ. 2517 ได้รับอนุญาติให้ตั้งโรงเรียนผู้ใหญ่ ระดับ 5 (ม.ศ. 4-5) ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ขอนแก่นวิทยายน" 
เปิดทำการสอนเวลา 17.00-21.30 น. วันอาทิตย์-ศุกร์
พ.ศ. 2518 ก่อสร้างโรงฝึกงาน แบบพิเศษ 2 ชั้น 6 หน่วยตามนโยบายของแผ่นพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 3
พ.ศ. 2521 สร้างอาคารเรียนแบบ 424 ก. (อาคาร 2 ปัจจุบัน) บนพ้นที่ซึ่งได้แลกเปลี่ยนกันกับสัสดีจังหวัด ในการแลกเปลี่ยน ที่ดินแปลงบ้านพักครู-ภารโรง ถนนหลังเมือง เยื้องวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นปัจจุบัน กับพื้นที่บิเวรแนวจากอาคาร 3 ถึงโรงแรมแก่นอินน์ ทำให้พื้นที่ของโรงเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 21 ไเศษ ในด้านการจัดการเรียน มีการเปลี่ยนแปลงระบบการจักหารชั้นเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (ม.1-ม.4) และมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (ม.4-ม.6) ตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2523 ได้สร้างอาคารเรียน แบบ 424 ค. เป็นห้องเรียน 20 ห้อง ห้องพักครู 4 ห้อง(อาคาร 1 ปัจจุบัน)
พ.ศ. 2532-2538 นายสวาทภูคำแสน ผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นช่วงที่โรงเรียนเริ่มรับนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาของกรมสามัญศึกษามาใช้ในการบริหาร ดังนั้นโรงเรียนจึงมีการขยาย จำนวนห้องเรียนอย่างรวดเร็ว เริ่มจากปี พ.ศ. 2533 ได้เพิ่มห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นระดับละ 12 ห้องเรียน และ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นระดับละ 14 ห้องเรียน รวมทุกระดับ 78 ห้องเรียน จากนั้นได้ขยายตัวต่อเนื่องทุกปีการศึกษา จนถึงปี 2538 จำนวนนักเรียนได้ขยายเป็นระดับละ 18 ห้องเรียน รวม 108 ห้องเรียน ซึ่งถือเป็นการเปิดรับนักเรียนที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543 นายชุมพล เวียงเพิ่ม ผู้อำนวยการโรงเรียน   โรงเรียนได้รับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มาปฏิบัติเป็นผลให้มีการพัฒนาในหลายด้านโดยเฉพาะการปรับปรุงสถานที่ มีการปรับปรุงถนนรอบบริเวณโรงเรียน สร้างสนามบาสเกตบอล สนามวอลเล่ย์บอลที่มาตรฐาน ปรับปรุงระบบน้ำดื่นในโรงเรียนให้มาตรฐาน ปรับรื้ออาคารที่ไม่เหมาะสมเช่น อาคารชั่วคราวด้านหลังอาคาร 2 และรื้ออาคารบริการรวมถึงห้องน้ำห้องส้วมด้านหน้าอาคาร 3 ทำให้สิ่งแวดล้อมบริเวณทั่วโรงเรียน ดีขึ้น นอกจากนี้ในปี 2539 โรงเรียนได้ปรับปรุงโรงเรียนในทุกด้านทั้งทางวิชาการปกครองธุรการรวมทั้งการบริการ เพื่อนเสนอผลงานของโรงเรียนเข้ารับการแข่งขันโรงเรียนเพื่อรับรางวัลพระราชทาน จึงทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในปีการศึกษา 2539 และปี 2540 โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่องภายใต้นโยบาย การจัดกิจกรรม "ศตวรรษมหามงคล ขอนแก่นวิทยายน 100 ปี" ของผู้บริหารโรงเรียน ใหม่โดยอาศัยความร่วมมือของศิษย์เก่าการจัดทำพระเครื่องบูชา การทำผ้าป่าสามัคคี การจัดการเฉลิมฉลองต่าง ๆ รวมไปถึงการพัฒนาสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของโรงเรียน โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าวโรงเรียนเป้าหมายของการระดมทุนเพื่อก่อสร้างอาคารอนุสรณ์ 100 ปี ขอนแก่นวิทยายน เพื่อใช้เป็นโรงอาหาร โรงยิมส์ ที่สถานที่จอดรถ รวมไปถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
พ.ศ. 2543 - พ.ศ.2550 นายประดิษฐ์  สำราญพัฒน์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนและได้เน้นการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  โดยพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา  บริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เน้นการมีส่วนร่วมพัฒนาการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนและห้องเรียนต้นแบบ  ส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อ IT จัดให้นักเรียนไดเรียนภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษา  เป็นผู้ริเริ่มให้การสนับสนุนโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์  และโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)  ส่งเสริมให้ครูนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  เป็นผู้นำในการระดมทรัพยากรเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ และพัฒนาอาคารสถานที่  ผลงานที่ปรากฏ อาทิ  ลานกีฬาอเนกประสงค์อาคารวิทยบริการ อาคาร 4  อาคาร 5  อาคาร 8 และอาคารโรงฝึกงาน   ความเป็นผู้นำที่โดดเด่นทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลดีเด่นระดับประเทศ ปี 2547  ในการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และในปี 2549  โรงเรียนได้ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษารอบที่ 2 (ประเมินเพื่อรับรอง) ซึ่งประเมินโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
              
รูปอาคารปัจจุบัน